การฉีดวัคซีนลูกสุนัขคืออะไร?
การดูแลลูกสุนัขให้แข็งแรงไม่ได้หมายถึงการเลือกอาหารที่ดี การซื้อของเล่นมาเอาใจ หรือการแบ่งเวลามาทำกิจกรรมด้วยกันเท่านั้น แต่รวมเรื่องสำคัญอย่างการฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนดจากสัตวแพทย์ด้วย การฉีดวัคซีนลูกสุนัขคือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคร้าย โดยวัคซีนจะประกอบไปด้วยแอนติเจนที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่ถูกทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้
ทำไมลูกสุนัขจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน?
ลูกสุนัขจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อก่อโรคร้ายนานาชนิดที่อาจเกิดขึ้น การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายรู้จักเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัส และเมื่อน้องหมาติดโรค ระบบภูมิคุ้มกันก็จะรับรู้ถึงสิ่งแปลกปลอมและต่อสู้เพื่อลดอาการและความรุนแรงจากเชื้อเหล่านั้น
ตารางฉีดวัคซีนลูกสุนัข
ลูกสุนัขฉีดวัคซีนเข็มแรกได้เมื่อมีอายุประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ โดยแนะนำให้เจ้าของปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อจัดตารางฉีดวัคซีนลูกสุนัขอย่างเหมาะสม ทั้งนี้คุณสามารถตรวจสอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัคซีนในสุนัข ซึ่งจัดทำโดยสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบําบัดโรคสัตว์เล็กโลก (World Small Animal Veterinary Association: WSAVA) เพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่าง และในตารางฉีดวัคซีนลูกสุนัขนี้คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียด
วัคซีนลูกสุนัข | อายุของลูกสุนัข |
พาร์โวไวรัส-2 (โรคลำไส้อักเสบ), ไวรัสไข้หัดสุนัข, รีคอมบิแนนท์ไวรัสไข้หัดสุนัข, อะดิโนไวรัส-2, CPV-2, อะดิโนไวรัส-1 | ริ่มฉีดเมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ จากนั้นฉีดซ้ำทุก 2 – 4 สัปดาห์ จนสุนัขมีอายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป |
เรบีส์ (พิษสุนัขบ้า) | ฉีดครั้งแรกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์ หากเข็มแรกฉีดก่อนมีอายุ 12 สัปดาห์ ลูกสุนัขอาจต้องฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ 12 สัปดาห์ |
พาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส | เริ่มฉีดเมื่อมีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ จากนั้นฉีดซ้ำทุก 2 – 4 สัปดาห์ จนสุนัขมีอายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป |
Bordetella bronchiseptica (แบคทีเรียไม่ก่อโรค), B. bronchiseptica + พาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส แบบหยอดจมูก, B. bronchiseptica + พาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส (เชื้อเป็น) + อะดิโนไวรัส-2 (เชื้อเป็น) แบบหยอดจมูก | เริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ |
B. bronchiseptica | เริ่มฉีดครั้งแรกได้เมื่อมีอายุ 8 สัปดาห์ |
Bordetella bronchiseptica, Bordetella bronchiseptica | ฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 6 – 8 สัปดาห์และครั้งที่สอง เมื่ออายุ 10 – 12 สัปดาห์ |
เล็บโตสไปราอินเทอโรแกนส์ (โรคไข้ฉี่หนู) | ฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป ครั้งที่สองห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์ |
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สุนัข โคโรน่าไวรัสสุนัข | ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์ โดยให้ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป |
วัคซีนลูกสุนัขที่เลี้ยงในสถานสงเคราะห์สัตว์ | |
ไวรัสไข้หัดสุนัข + อะดิโนไวรัส-2 + พาร์โวไวรัส-2 | ฉีดทันทีเมื่อรับสุนัขเข้าสถานสงเคราะห์ เมื่อมีอายุ 4 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าสุนัข |
รีคอมบิแนนท์ไวรัสไข้หัดสุนัข + อะดิโนไวรัส-2 + พาร์โวไวรัส-2 มีหรือไม่มีพาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส แบบฉีด | จะมีอายุ 20 สัปดาห์ และยังคงอยู่ในสถานสงเคราะห์ |
Bordetella bronchiseptica, B. bronchiseptica + พาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส, B. bronchiseptica + พาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส, B. bronchiseptica | สามารถฉีดได้ตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ในกรณีที่ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ ควรกระตุ้นซ้ำอีกเมื่อมีอายุมากกว่า 6 สัปดาห์ |
Bordetella bronchiseptica | ฉีดครั้งแรกเมื่อรับเข้าสถานสงเคราะห์ เมื่ออายุ 6 – 8 สัปดาห์ และครั้งที่สองห่างกัน 2 สัปดาห์ |
เรบีส์ (พิษสุนัขบ้า) | ฉีดครั้งเดียว ก่อนสุนัขออกจากสถานสงเคราะห์ |
การฉีดวัคซีนน้องหมาโตเต็มวัยคือการฉีดกระตุ้นซ้ำทุกปี หากเป็นสุนัขโต ที่ไม่ทราบประวัติการทำวัคซีน สามารถปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อรับโปรแกรมวัคซีนที่เหมาะสมได้
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำก่อนและหลังการฉีดวัคซีนลูกสุนัข:
มาดูทริคการเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีนตามนัดหมายให้เจ้าตัวน้อยกัน:
- ในฐานะเจ้าของนั้น คุณจะต้องอยู่ในความสงบ แสดงอารมณ์มั่นคง และพูดกับเจ้าตัวน้อยด้วยเสียงที่นุ่มนวลเพื่อให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลายเมื่อถึงเวลาไปฉีดวัคซีนตามกำหนด เพราะคุณคือที่พึ่งของพวกเค้า หากคุณเริ่มตื่นตระหนก หรือแสดงอาการเครียดออกมา ลูกสุนัขที่กำลังจ้องมองคุณอยู่ก็จะรับเอาพฤติกรรมเชิงลบเหล่านี้ไปด้วย
- ก่อนพาไปฉีดวัคซีนควรฝึกให้ลูกสุนัขคุ้นเคยกับการนั่งรถ และเพื่อให้การเดินทางราบรื่นควรเตรียมเบาะนั่งหรือตะกร้าสำหรับสุนัขโดยเฉพาะเอาไว้ด้วย
- หลีกเลี่ยงการให้อาหารลูกสุนัขก่อนการฉีดวัคซีน แต่สามารถให้ขนมได้ เพื่อช่วยให้พวกเค้ารู้สึกสงบ และมีความประพฤติที่ดีตลอดการเดินทาง
- คุณอาจใช้ตัวช่วยอย่างฟีโรโมนสังเคราะห์ เพื่อให้พวกเค้ารู้สึกสงบระหว่างการเดินทางไปฉีดวัคซีน
- ปรึกษาขอคำแนะนำเรื่องการลดความเครียดหรืออาการตื่นตระหนกของลูกสุนัขที่เหมาะสมจากสัตวแพทย์
ทริคการดูแลเจ้าตัวน้อยหลังได้รับการฉีดวัคซีน:
- จัดเตรียมพื้นที่ที่สงบและอบอุ่นเพียงพอให้เจ้าตัวน้อยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ อาจเลือกพื้นที่ที่พวกเค้าคุ้นเคยดีอยู่แล้วก็ได้
- เตรียมน้ำดื่มสะอาดและอาหารสุดโปรดของพวกเค้าให้พร้อม ถึงแม้ว่าพวกเค้าอาจไม่รู้สึกอยากอาหารก็ตาม
- แนะนำให้งดการลูบหัวหรือกอดเจ้าตัวน้อยหลังการฉีดวัคซีน พวกเค้าอาจแยกตัวไปอยู่ลำพัง แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะมันถือเป็นเรื่องปกติ
- หมั่นสังเกตอาการพวกเค้าเป็นระยะ แต่ระวังอย่าไปรบกวนเวลาพักผ่อนของพวกเค้าหล่ะ
- งดการอาบน้ำอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนน้องหมาอาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนในคน ซึ่งอาการข้างเคียงของลูกสุนัขที่สามารถพบได้หลังการฉีดวัคซีนมีดังต่อไปนี้:
- หายใจลำบาก
- มีอาการบวม แดง หรือเป็นผื่นบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- อาเจียนหรือท้องเสียอย่างต่อเนื่อง
- อ่อนเพลียหรือหมดสติชั่วคราว
- ไออย่างรุนแรง
ดังนั้น หลังฉีดวัคซีนเสร็จ จึงควรรอสังเกตุอาการที่คลินิค หรือโรงพยาบาลสัตว์ อย่างน้อย 15-30 นาที เพราะหากสุนัขเกิดอาการแพ้ สุนัขตัวน้อยจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากสัตวแพทย์
ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนลูกสุนัข:
ค่าใช้จ่ายในการวัคซีน CPV-DHLP หรือวัคซีนรวม 5 ต่อ 1 จะขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง โดยวัคซีนชนิดนี้จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคไข้หัดสุนัข, อะดีโนไวรัส (ตับอักเสบ), พาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส และพาร์โวไวรัส สุนัขของคุณควรได้รับวัคซีนเมื่อมีอายุประมาณ 10 – 12 สัปดาห์ เช่นเดียวกันกับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขที่ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนน้องหมาได้เมื่อพวกเค้าเข้าสู่ช่วงวัย 16 สัปดาห์ และต้องฉีดกระตุ้นซ้ำทุก 1 (ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย)